
อุตสาหกรรมและธุรกิจที่น่าสนใจลงทุน
กำพูชานับว่าเป็นอีกหนึ่งประเทศที่น่าลงทุนเนื่องจากมีปัจจัยดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศที่สำคัญทั้งอัตราการเติบโตเฉลี่ยของเศรษฐกิจ และแนวโน้มการเติบโตที่คาดว่าจะขยายตัวต่อไปอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังมีทรัพยากรที่สมบูรณ์ เช่น แร่ ทองแดง เหล็ก น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ล้วนเป็นปัจจัยที่จำเป็นสำหรับหลายอุตสาหกรรม ซึ่งแรงงานของกัมพูชาก็ยังมีราคาถูกอันจะเป็นผลให้ต้นทุนในการผลิตสินค้าต่ำลง
รัฐบาลกัมพูชายังมีนโยบายสนับสนุนการลงทุนจากต่างประเทศ (Cambodian Investment Board : CIB) โดยนักลงทุนจากต่างประเทศจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น การเคลื่อนย้ายเงินลงทุนเสรี การอนุญาติให้ถือหุ้นในกิจการของประเทศได้ 100% การยกเว้นภาษีเงินได้ และการมีสิทธิการเช่าที่ดินได้ยาวถึง 50 ปี ทั้งนี้ภาคอุตสาหกรรม หรือ ธุรกิจ สามารถเข้าไปลงทุนได้ดังต่อไปนี้
อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น โดยสามารถดูดซับแรงงานในภาคการผลิตได้ถึงสามแสนคนและยังเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกัมพูชามากที่สุด ซึ่งทางสหภาพยุโรป ได้ออกกฏแหล่งกำเนิดสินค้าฉบับใหม่ เพื่อมอบสิทธิพิเศษทางการค้าที่ ผู้ผลิตสามารถหาแหล่งวัตถุดิบได้ทั่วโลกที่มีคุณภาพดี ราคาถูก ทำให้ตั้งต้นทุน และราคาของเครื่องนุ่งห่ม มีแนวโน้มถูกลงส่งผลดีต่อความสามารถการแข่งขันและการส่งออกอันเป็นปัจจัยที่สนับสนุนให้อุตสาหกรรมสิ่งทิและเครื่องนุ่งห่มเติบโตได้
บริการท่องเที่ยว เรื่องสถานที่ท่องเที่ยวในประเทศกัมพูชา มีหลากหลายสถานที่ที่สวยงาม ประกอบกับค่าครองชีพอยู่ในระดับต่ำ และมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านการท่องเที่ยว เช่น การอำนวยความสะดวกด้านวีซ่าเข้าประเทศ การผ่านด่านเข้าพรมแดน การสร้างสนามบินแห่งใหม่ในจังหวัดเสียมราฐ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ อาจจะส่งผลให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาพักผ่อนเป็นเวลานาน ดังนั้นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อย่างเช่น โรงแรม ร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และบริษัททัวร์ บนพื้นฐานของการกำหนดลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่มีกำลังซื้อสูง
อุตสาหกรรมการผลิตอุปโภคบริโภค เมื่อพิจารณาโครงสร้างรายจ่ายจากภาคครัวเรือนพบว่า รายจ่ายของชาวกัมพูชา หมวดไปกับหมวดเสื้อผ้ารองเท้าที่มีการขยายตัวสูงสุดที่ร้อยละ 18 ต่อปี หมวดอาหารและเครื่องดื่ม หมวดการเดินทางและยานพาหนะ ขยายตัวเท่ากัน ที่ร้อยละ 5 ต่อปี ซึ่งคนบางกลุ่มเริ่มหันมาสนใจสินค้าฟุ้มเฟือยและสินค้าแบรนด์เนมมากขึ้น ในขณะเดียวสินค้าอุปโภค บริโภค ที่ไทยมีศักยภาพในการผลิต – ส่งออก – ลงทุนในกัมพูชา ได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก เช่น เสื้อผ้า รองเท้า โทรศัพท์มือถือ อาหารแปรรูป ขนมขบเคี้ยว นมและผลิตภัณฑ์นม และยังมีสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่กำลังจะมาแรงในขณะนี้ที่ไ้ดรับความนิยมสูงขึ้นและก้าวกระโดดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาเนื่องจากชาวกัมพูชาเริ่มหันมาดูแลสุขภาพและความงามมากขึ้น ได้แก่สินค้าประเภท เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์ รักษาผิว เป็นต้น
อุตสาหกรรมยานยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ มีแนวโน้มขยายตัวตามรายได้ของชาวกัมพูชาที่เพิ่มขึ้น กลุ่มประชากรทที่มีกำลังซื้อไม่สูงมักนิยมซื้อรถยนต์มือสอง ทำให้กัมพูชานำเข้ารถยนต์มือสองกว่าร้อยละ 30 ของรถยนต์ทั้งหมดที่นำเข้า จึงเป็นโอกาสสำหรับการส่งออกชิ้นส่วนรถยนต์ประเภท REM (Replacement Equipment Manufacturing) ซึ่งเน้นจำหน่ายอะไหร่ทดแทน รวมทั้งยางอะไหล่รถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวมไปถึง ธุรกิจซ่อมบำรุงรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ก็จะได้รับอานิสงส์จากการเติบโตของอุตสาหกรรมอักด้วย
ธุรกิจบริการคมนาคมและโลจิสติกส์ เมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้เกิดการเชื่อมโยงหลายเส้นทางการคมนาคมมากขึ้นเป็นลำกับ โดยเฉพาะการพัฒนาเส้นทาง R1 ซึ่งมีด่านอรัญประเทศและปอยเปดเป็นจุดสำคัญที่เหมาแก่การทำการค้าชายแดน โดยเป็นด่านที่มีมูลค่าการค้าสูงที่สุดเกือบ 4 หมื่นล้านบาท และมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นอีก ธุรกิจโลจีสติกส์ คลังสินค้า และศูนย์กระจายสินค้า จึงเหมาะที่จะไปตั้งอยู่ในเขตเศรษฐกิจปอยเปด – โอเนียง เพราะจะก่อให้เกิดการพัฒนาสถานีขนถ่ายสินค้า โดยธุรกิจท่องเที่ยว ร้านอาหาร ที่พัก สามารถยึดเกาะกงเป็นทำเลหลักได้เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านที่ติดกับชายแดนไทย รวมทั้งยังมีความสวยงามทางธรรมชาติ เสมือนเป็นประตูสู่การท่องเที่ยวของกัมพูชา และยังมีเขตเศรษฐกิจพิเศษเกาะกง ซึ่งเหมาะแก่การลงทุนใอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม แปรรูปไม้ สินค้าเกษตร และสัตว์น้ำบริเวณท่าเรือสีหนุวิลล์
แม้ว่าจะมีโอกาสที่เปิดกว้างในหลายอุตสาหกรรมข้างต้นแต่ผู้ประกอบการไทยจะต้องมีความรอบคอบในการเข้าไปลงทุนในกัมพูชาเช่นกันเพราะการลงทุนทาธุรกิจในกัมพูชาจะต้องมีหุ้นส่วนที่ดีและต้องสามารถก้าวข้ามอุปสรรคสำคัญหลายประการ ได้แก่ การเริ่มดำเนินธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างครบถ้วน ความเสี่ยงด้านปัญหาชายแดนระหว่างไทย – กัมพูชา และค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งและไฟฟ้าที่มีราคาแพงกว่าแระเทศเพื่อนบ้าน ปัจจัยเหล่านี้จึงถือเป็นต้นทุนแอบแฝงในการทำธุรกิจด้วย อีกทั้งผู้ประกอบการไทยยังต้องจัดหาแหล่งเงินทุนจากไทยเป็นหลักไปลงทุนในกัมพูชา เพราะการกู้ยืมเงินกัมพูชามีต้นทุนสูงถึงร้อยละ 15 และตลาดทุนของกัมพูชายังอยู่ในช่วงเริ่มต้นการพัฒนาทั้งในมิติของกฏระเบียบ นวัตกรรมของผลิตภัณฑ์ การสร้างธรรมาภิบาลอีกด้วย
Comments
Post a Comment